วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ท้ายบท บทที่ 5

1. ให้นักเรียค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยให้หาความหมายของคำว่า "Open Source" แบะให้บอกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ช ที่รู้จักในปัจจุบันมา 3 ชนิด

ตอบ โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีการเปิดเผยต้นฉบับรหัสซอฟต์แวร์ (Source code) และอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ต่อได้อย่างเสรีพัฒนา และสามารถให้สาธารณะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทำให้เกิดการร่วมมือกันทำงานอย่างไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเสรีตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

2.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และให้บอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว

ตอบ System Defend Total Security (โปรแกรม ป้องกันไวรัส กำจัดไวรัส พัฒนาโดยคนไทย 100%) : โปรแกรมป้องกันไวรัส และ กำจัดไวรัส ประสิทธิภาพสูง ฝีมือคนไทยล้วนๆ โดยคุณ ปรีดา เจริญวัฒนา เป็นโปรแกรม ป้องกันไวรัส และภัยคุกคามทุกรูปแบบ ด้วยความสามารถที่มากเหลือล้น

รายละเอียดโปรแกรม

1. ป้องกันไวรัส จากระบบเครือข่าย Internet และ เครือข่าย LAN

2. ป้องกัน Spyware และ Application ที่ไม่พึงประสงค์

3. ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล ป้องกันการโจมตีจาก Hacker

4. ป้องกันไวรัสจาก อุปกรณ์เก็บข้อมูลพกพา USB Drive

5. ป้องกันไวรัส Trojan

6. ปรับแต่งระบบวินโดวส์ ให้ทำงานเร็ว แรง ขึ้นอย่างมาก

7. ค้นหาไวรัสในเครื่อง (Scan All Drives)และอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพา

8. หยุดการทำงานของไวรัส (Virsu Kill Process, Stop Virus Process)

9. ซ่อมแซมไฟล์ระบบวินโดวส์(Repair Windows System Files)กู้ไฟล์วินโดวส์ที่ถูกไวรัส ลบ (Recovery Windows System Files and Booting Files) ซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย (Repair Error Files) ทำความสะอาดรีจีสทรี (Clean Registry)

10. ค้นหาไวรัสที่พบล่าสุดอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบการกำจัดไวรัส System Defend Total Security 2011 v2.0 สามารถป้องกันระบบไฟล์ของวินโดวส์ ไม่ให้เสียหาย แม้วว่าจะถูกลบไปจากไวรัส หรือจากผู้ใช้งาน ระบบไฟล์ของวินโดวส์ที่ถูกลบ จะถูกกู้กลับอัตโนมัติ ทำให้วินโดวส์มีความเสถียรสูง

3.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการบังคับใช้ในปัจจุบัน

ตอบ Microsoft Genuine Software Initiative
Genuine Software Initiative (GSI) มุ่งเน้นที่หลากหลายกิจกรรมและการลงทุนขององค์กรที่จัดเพื่อป้องกันการปลอมแปลงด้านซอฟท์แวร์ และรูปแบบอื่นๆ ของการการละเมิดลิขสิทธิ์ของซอฟท์แวร์ การเริ่มต้นนี้จะเน้นที่การเพิ่มการลงทุนในสามด้านด้วยกัน คือ การให้ความรู้ , วิศวกรรม และความถูกต้องตามกฎหมาย
หัวใจสำคัญในการปกป้องผู้ใช้และการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์คือการให้ความรู้ วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องผู้ใช้คือการเพิ่มการรับรู้ถึงประเด็นปัญหา การแนะนำให้เขาตรวจสอบซอฟท์แวร์ที่มีการปลอมแปลง และช่วยสร้างเสริมความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาควรทราบ
Microsoft กำลังทำงานร่วมกับหุ้นส่วนในอุตสาหกรรมเพื่อให้ผู้ใช้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการได้มาและการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่มีการปลอมแปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของเรา ในขณะที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการพาณิชย์ ก็มีการใช้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ความเป็นไปได้ที่จะได้รับอันตรายจากสปายแวร์หรือมัลแวร์ (โปรแกรมที่มีความประสงค์ร้าย) เช่น ไวรัส หรือการรับรหัสที่ไม่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น เมื่อมีการขายซอฟท์แวร์ที่ละเมิขลิขสิทธิ์ให้ผู้ใช้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต Microsoft เคยรับทราบถึงการขโมยบัตรเครดิตโดยการขายซอฟท์แวร์ออนไลน์ซึ่งภายหลังพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์
นอกเหนือจากปัญหาร้ายแรงที่ผู้ใช้ได้รับ เช่น การขโมยข้อมูลที่ระบุตัวตนในระหว่างการรับซอฟท์แวร์ที่ผิดกฎหมาย การติดตั้งและการใช้ซอฟท์แวร์การปลอมแปลงจะป้องกันลูกค้าจากการรับโปรแกรมปรับปรุงและส่วนเพิ่มเติมพิเศษได้ เช่น สำเนาปลอมแปลงของ Microsoft Windows XP จะไม่สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงหรือส่วนเพิ่มเติมพิเศษที่สำคัญ เช่น Windows Media Player หรือ Internet Explorer รุ่นที่ใหม่กว่า สิทธิ์ในการเข้าใช้ส่วนเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะถูกนำเสนอให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ Microsoft Windows ของแท้ผ่านทางกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ Genuine Software Initiative Microsoft ส่งเสริมให้ลูกค้าได้ใช้เครื่องมือ Windows Genuine Advantage (WGA) และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ใน
http://www.microsoft.com/genuine เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีซอฟท์แวร์ของแท้

4.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ของซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร

ตอบ ไม่เห็นด้วยเพราะว่าสื่อที่ใช้ในก่ารศึกษาควรทำเป็นวิทยาทานแก่นักเรียนเพื่อที่จะให้นักเรียนได้มีความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ก่อนเรียน บทที่ 5

กิจกรรมที่ควรเพิ่มให้แก่นักเรียน
1.บอกความหมายและประเภทของซอฟต์แวร์ได้
ตอบ อฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

ประเภทของซอฟต์แวร์

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์

ประเภทของโปรแกรมระบบ (System Software)

1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่

- Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ ความควบคุมของ Supervisor ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน Supervisor จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor อีกครั้ง

- โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่น ๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น

2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมี ลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่

2.1 MS - DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปีค.ศ. 1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command - line User Interface) MS - DOS นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ IO.SYS MS - DOS.SYS และ COMMAND.COM ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS - DOS.SYS และ IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน

IO.SYS เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

MS - DOS.SYS เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS - DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้ IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ

COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ

คำสั่งในระบบ MS - DOS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้ REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม คำสั่ง TYPE เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น

- คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ เช่น คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่

- คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย

2.2 Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็ก ๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11

2.3 Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้

- มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก (Graphical User Interface :GUI)

- มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลาย โปรแกรมในเวลาเดียวกัน

- มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม

- เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้

- สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E - mail ได้

2.4 Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ

2.5 Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Windows ME" ใน เวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น

2.6 Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้าย กับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT ได้แก่ ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกัน สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์ สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และ สามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน เป็นต้น

2.7 Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการ พัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language

2.8 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition

2.9 Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)

2.10 OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย

2.11 UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX อีกด้วย

2.12 LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True - Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2.13 Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce

3) ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ได้ดังนี้

3.1 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand - alone เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานโดยไม่มี การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น LAN หรือ Internet ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า "Client Operating System" ได้แก่ MS - DOS, MS - Windows ME, Windows server 2000, Windows XP, Windows NT, Windows server 2003, UNIX, LINUX, Mac OS, OS/2 Warp Client

3.2 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมี คุณสมบัติพิเศษ คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องพบได้ในคอมพิวเตอร์แบบ Hand Held เช่น Palm Top, Pocket PC เป็นต้น ระบบปฏิบัติการชนิดนี้ได้รับความนิยม คือ Windows CE, Pocket PC 2002 และ Palm OS เป็นต้น

3.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้

3.4 ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน

3.5 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System) สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Selecting a Microcomputer Operating System) เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การ และงบประมาณที่มี

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

- ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับระบบจัดการ

- ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ

- ซอฟต์แวร์กระดานคำนวณ

- ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลด้านงานธุรกิจ

- ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software)

- ซอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน

เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็น


2.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้

ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง

ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า

3.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ตัวแปลภาษาสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภท
1. คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์แทรกให้เป็นภาษาเครื่อง การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับ ทั้งโปรแกรมเรียกใช้งาน ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็สามารถเรียกจากไฟล์เรียกใช้งาน โดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่คอมไพล์โปรแกรมต้นฉบับที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง คอมไพเลอร์จะตรวจสอบโครงสร้างไวยากรณ์ของคำสั่งและข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณ และเปรียบเทียบต่อจากนั้นคอมไพเลอร์จะสร้างรายการข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Program listing) เพื่อใช้เก็บโปรแกรมต้นฉบับและคำสั่งที่เขียนไม่ถูกต้องตามกฏ หรือโครงสร้างของภาษานั้น ๆ ไฟล์นั้นมีประโยชน์ในการช่วยโปรแกรมเมอร์ในการแก้ไขโปรแกรม (debug)
2. อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter)
เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมกระทำได้ง่าย และรวดเร็ว การแปลโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน ดังนั้นจะต้องทำการแลใหม่ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้งาน ตัวอย่างภาษาที่ใช้ตัวแปลอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC)
3. แอสเซมเบลอ (assembler)
เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี (assembly) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง




กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ท้าบบท บทที่ 7

3.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องสำรองข้อมูลและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการสำรองข้อมูลโดยอุปกรณ์ใดบ้างและใช้ปัจจัยใดในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรองข้อมูล

ตอบ เพราะว่าข้อมูลที่เราได้ทำแต่ละเรื่องสำคัญมากถ้าเกิดการสูญหายขึ้นก็จะเป็นเรื่องใหญ่และยุ่งยากฉนั้นเราจึงทำการสำรองข้อมูลโดบใช้อุปกรณ์เดอะแวลลูซิสเตมส์ เปิดตัว บัฟฟาโล ไดร์ฟสเตชัน คอมโบ (Buffalo DriveStation Combo) สตอเรจโซลูชันที่มีความจุสูง เคลื่อนย้ายง่าย มีการเชื่อมต่อทั้งแบบ USB 2.0 และ FireWire ในตัวเดียวกัน สะดวกต่อการใช้งานในแบบ Plug and Play

Buffalo DriveStation Combo เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่ความจุสูง โดยมีขนาดความจุให้เลือก 160, 250. 320, 500, 750 กิกะไบท์ ฮาร์ดไดร์ฟที่ใช้ภายในมีความเร็วสูงที่ 7400 รอบต่อนาที จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในบริษัทขนาดเล็กและกลาง ที่ต้องมีการสำรองข้อมูลจำนวนมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล และการสำรองไฟล์ข้อมูล แม้กระทั้งถ่ายโอนเพลงโปรด ภาพถ่าย และวิดีโอได้อย่างง่ายดายและฉับไว

นอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องของการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างง่ายดายโดยผ่านทาง USB และ FireWire (IEEE 1394) โดยรวมถึงอุปกรณ์จำพวกเครื่องเดสก์ทอป, โน้ตบุ๊ค, เครื่องแมค, บัฟฟาโล ลิงค์สเตชัน (Buffalo LinkStation) และบัฟฟาโล เทราสเตชัน (Buffalo TeraStation) ด้วย

ส่วนการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ง่ายด้วยระบบ Plug and Play เพียงแค่เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ก็จะติดตั้งเองโดยอัตโนมัติ ในกรณีที่เครื่องทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Windows 2000, Windows XP หรือ Mac OS X ในกรณีเป็นระบบ Windows 98 จะต้องติดตั้งไดร์ฟเวอร์ USB ก่อน

Buffalo DriveStation Combo ได้รับการออกแบบมาโดยเน้นคุณสมบัติโครงสร้างฮีตซิงค์แบบไม่มีพัดลม จึงช่วยให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้เงียบและการระบายความร้อนได้ดี และด้วยโครงสร้างของตัวอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพดี จึงสามารถติดตั้งได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

DriveStation Combo ตัวนี้มาพร้อมกับซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการสำรองข้อมูลที่ติดตั้งโดยอัตโนมัติทำให้ผู้ใช้เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย จึงทำให้อุปกรณ์นี้สามารถใช้งานได้ในทันทีที่ติดตั้ง คือ Memeo AutoBackup สามารถเลือกชนิดจัดเก็บไฟล์ได้ตามต้องการ เช่น เพลง ภาพถ่าย งานนำเสนอ เป็นต้น สำหรับ SecureLockWare เป็นซอฟท์แวร์ป้องกันข้อมูลส่วนตัวจากการขโมย การบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาด และจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยดูแลข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และเป็นโซลูชันด้านการสำรองและจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถวางใจได้
คุณสมบัติของตัวเครื่อง
- Number of Drives : 1
- Drive Interface : SATA
- Hard Drive Sizes : 250GB, 320GB, 500GB, 750GB
- Total Capacity : 250GB, 320GB, 500GB, 750GB
- Rotational Speed : 7500 RPM
- Standard Compliance : USB 2.0/ IEEE1394
- Connector Type : USB Series A/ 4 and 6-pin IEEE1394
- Number of Ports : 1 USB, 2 IEEE1394
- Data Transfer Rates :
- Max. 480 Mbps (High-Speed Mode)
- Max. 400 Mbps (FireWire 400 Mode)
- Max. 12 Mbps (Full-Speed Mode)
- Dimensions (WxHxD in.) : 1.8 x 7.9 x 6.4
- Weight (lbs) : 2.8
- Power Consumption (Watts) : Max. 25W, Average 17W
- Setup Utility OS Support : Windows XP, Windows 2000, Windows Me, Windows 98SE
- Client OS Support : Windows XP, Windows 2000, Windows Me, Windows 98SE, MacOS 9.0, Mac OS X

Buffalo DriveStation Combo สตอเรจโซลูชันสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลทั่วๆ ไป, ไฟล์เพลง MP3 และไฟล์วิดีโอ พร้อมการเชื่อมต่อที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และข้อมูลที่สำคัญจะอยู่กับคุณไปอีกนานแสนนาน

บทที่ 7 การจัดการข้อมูล

กิจกรรมที่ควรเพิ่มให้กับนักเรียน

1.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้
บิต (Bit = Binary Digit) เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1
ไบต์ (Byte) เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร
ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field) ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง
เรคคอร์ด (Record) เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก
ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File) ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้
ฐานข้อมูล (Database) เกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว โดยจะมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งจะใช้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บไว้ เป็นต้นว่า โครงสร้างของแต่ละตารางเป็นอย่างไร ประกอบด้วยฟีลด์อะไรบ้าง คุณลักษณะของแต่ละฟีลด์และความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นมากและจะถูกเรียกใช้ในระหว่างที่มีการประมวลผลฐานข้อมูลนั่นเอง

2.อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ
ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้

ฐานข้อมูลเกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว โดยจะมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งจะใช้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บไว้ เป็นต้นว่า โครงสร้างของแต่ละตารางเป็นอย่างไร ประกอบด้วยฟีลด์อะไรบ้าง คุณลักษณะของแต่ละฟีลด์และความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นมากและจะถูกเรียกใช้ในระหว่างที่มีการประมวลผลฐานข้อมูลนั่นเอง

3.อธิบายลักษณะการประมวลผลของข้อมูลได้
ตอบ วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ
1.การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing)
หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลวิ่งไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผลการประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นการประมวลผลโดยทันทีทันใด เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินเอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง
2.การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)
หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ เช่น เมื่อต้องการทราบข้อมูลผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูล นั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานหรือสรุปผลหาคำตอบ กรณีการประมวลผลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้งๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน

4.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างของข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ โครงสร้างข้อมูลระดับตรรกะที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลให้ผู้ใช้เห็นและเข้าใจได้

• แบบจำลองข้อมูลแบบสัมพันธ์นำเสนอในรูปตาราง มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันโดยใช้ค่าของคีย์ ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นแบบจำลองที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน

• แบบจำลองข้อมูลแบบไฮราคีนำเสนอในรูปของโครงสร้างต้นไม้ มีความสัมพันธ์ของเรคอร์ดในฐานข้อมูลแบบพาเรนต์-ไชลด์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย สร้างความสัมพันธ์ด้วยการใช้ตัวชี้

• แบบจำลองข้อมูลแบบเครือข่ายนำเสนอในรูปมัลติลิสต์ มีความสัมพันธ์ของเรคอร์ดในฐานข้อมูลแบบพาเรนต์-ไชลด์เป็นแบบหนึ่งต่อหลายแบบจำกัด มีการเชื่อมโยงเซตของเรคอร์ดด้วยตัวชี้สามารถแก้ปัญหาความสัมพันธ์แบบหลายต่อหลายได้

• แบบจำลองข้อมูลแบบออบเจกต์นำเสนอในรูปออบเจกต์ เป็นแบบจำลองที่เหมาะกับงานออกแบบทางวิศวกรรมและการเก็บข้อมูลรายละเอียดที่เป็นวัตถุเชิงซ้อน มีการอ้างถึงออบเจกต์อื่นโดยใช้ตัวระบุออบ เจกต์เชิงตรรกะ



5.จำแนกความแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลได้
ตอบ ในสมัยก่อนนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการนำกลับมาใช้บนระบบคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลทั้งสิ้น แต่เมื่อโลกมีการพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ต้องจัดเก็บมีอยู่มากมายการใช้แต่เพียงแฟ้มข้อมูลเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป จึงทำให้มีการนำเสนอแนวความคิดระบบฐานข้อมูลขึ้น เพื่อจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ข้อแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลกับฐานข้อมูล

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ท้ายบท บทที่ 6

1.ในระบบปฏิบัติการ Windows 7 มีระบบ License ทัั้งในแบบ FPP License และ OEM License ทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลความแตกต่างระหว่าง 2 License ทั้งสองรูปแบบนี้ แล้วนักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่มาใช้่ภายในบ้านจะเลือกใช้ License แบบใด
ตอบ

1. FPP License หรือ Full Package Product License จะมาในรูปแบบของกล่องซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษาเป็นหลัก โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย เช่นต้องหาแผ่น driver ต่างๆ ของเครื่องเราเอง แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า

สิทธิ์ที่ได้

- 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น

- สามารถโอนย้ายข้าม เครื่อง ได้ โดยการย้ายข้ามเครื่องต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่อง เก่าก่อนแล้วทำการติดตั้งในเครื่องใหม่ แล้วทำการโทรเข้า ศูนย์บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องของ Activation Software อีกทีหนึ่ง

- ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (
Downgrade Right)
- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้

- อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี


สิ่งที่อยู่ในกล่อง

- คู่มือการใช้งาน

- ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง

- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (
End User License Agreement)
- แผ่นดิสก์ หรือ
CD ROM
2. OEM License หรือ Original Equipment Manufacturer จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กร หรือห้างร้านที่ไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องการยุ่งยากใน การติดตั้งและหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานทันที


สิทธิ์ที่ได้รับ

- 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น

ซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหากที่ให้กับร้านค้าประกอบเครื่องเองเช่นในห้างไอทีต่างๆ ในไทยนั้นจะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก ถ้า M/B ของเครื่องนั้นๆ เสีย OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย

- ได้ รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตาม ที่ระบุไว้นะครับว่าต่ำสุดได้เท่าไหร่

- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้

- อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี


สิ่งที่อยู่ในกล่อง
OEM
- OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ

- ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป

- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (
End User License Agreement)
- แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (มีเฉพาะกับของ Windows เท่านั้นซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ จะไม่มี)

3. Volume License อันนี้เหมาะกับองค์กรเป็นหลักครับ เพราะมีราคาถูกที่สุด และใช้ในปริมาณมากๆ ได้ดีแต่ก็ต้องทำติดขอซื้อและทำสัญญา Software Assurance ต่างๆ ด้วยซึ่งตรงนี้อาจจะกล่าวต่อไปถ้ามีเวลาครับผม ซึ่งถ้าเปิดบริษัทผมแนะนำตัวนี้ครับ เพราะถ้าเราซื้อสิทธิ์พร้อม Software Assurance จะได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่นใหม่เสมอๆ ตลอดระยะเวลาทำสัญญา Software Assurance ครับ


จากข้อมูลด้านบนนั้นผมมักแนะนำเสมอๆ ว่าถ้ามีโอกาสผมก็จะแนะนำให้ซื้อ FPP ไปเลย เพราะย้ายเครื่องได้ อัพเกรด หรือทำอะไรกับเครื่องก็สบายใจ เพราะถ้าเราอัพเกรดมากๆ บางครั้ง OEM จะโดนให้ Activate ใหม่ แล้วมักจะไม่ผ่านในขั้นตอนนี้ครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากครับ ซึ่งราคา FPP ในประเทศไทยนั้นราคาไม่แพงไปกว่า OEM ในตลาดเมืองนอกครับ ถ้ายังจำได้ตอน Windows 7 เปิดตัวในไทยใหม่ๆ จะมีราคาโปรโมตชั่นแรงๆ ในราคาถูกมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะเหมาะกับวิถีชีวิตการใช้งานคนไอทีในไทย ที่มักจะซื้อเครื่องประกอบเอง และเปลี่ยนแปลงเครื่องตัวเองบ่อยๆ มากกว่า OEM ครับ (ราคา OEM และ FPP สำหรับ Windows 7 ก็ไม่ได้แตกต่างไปมากแบบเมื่อในรุ่นเก่าๆ แล้วครับ

บทที่ 6 ระบบปฏิบัติการ

กิจกรรมที่ควรเพิ่มให้แก่นักเรียน

1.บอกความหมายของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ คือเป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ

2.จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้

ตอบ ระบบปฏิบัติการมี 3 ประเภท 1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว(stand-alone OS)

2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network OS)

3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embeded OS)

3.อธิบายองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ

ตอบ องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการมีดังนี้

1.การจัดการโปรเซส (Process management)

2. การจัดการหน่วยความจำ (Memory management)
3. การจัดการไฟล์ (File management)
4. การจัดการอินพุต / เอาต์พุต (I/O system management)
5. การจัดการสื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage managment)
6. เน็ตเวิร์ค (Networking)
7. ระบบป้องกัน (Protection system)
8. ระบบตัวแปลคำสั่ง (Command-interpreter system)

4.ระบบปฏฺิบัติการที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ตอบ Windows XP Windows Vista Windows 7 Mac OSX